เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ร่างกายแล้วต้องผ่านกระบวนการย่อยหลายขั้นตอน ไม่มีอาหารใดที่ร่างกายดูดซึมได้ทันที ส่วนที่ใช้ได้จะย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ส่วนที่นำไปให้ไม่ได้ถูกกำจัดออกในรูปของกากอาหารและถูกขับถ่ายออกมาในที่สุด เคมีที่ใช้ในการย่อยอาหารประกอบด้วยของเหลวและเอนไซม์หลายอย่างที่มีความเป็นกรดและด่าง ในการกินอาหารแต่ละครั้ง ในมื้อหนึ่งควรกินอาหารประเภทเดียวกันจะทำให้ย่อยง่ายขึ้น ทำให้ระบบย่อยอาหารไม่ทำงานหนักสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการกินอาหารที่มีส่วนประกอบหลายอย่าง คือพยายามอย่าผสมโปรตีนกับคาร์โบไฮเดรตเข้มขันเข้าด้วยกัน เพราะเมื่อเรากินโปรตีนเข้าไป ร่างกายจะให้เวลาในการย่อยนานประมาณ 2-6 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของโครงสร้างโมเลกุลของโปรตีนแต่ละชนิดด้วย เมื่อค้างอยู่ในท้องนานทำให้มีอาการท้องอืด หากมื้ออาหารนั้นมีโปรตีนมาก วิธีแก้คือให้กินผลไม้รสเปรี้ยวที่อุดมด้วยวิตามินซี จะช่วยย่อยโปรตีนได้เป็นอย่างดี เช่น ส้ม สับปะรด เกรปฟรุต มะนาว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
ไม่ควรกินอาหารที่มีส่วนผสมของโปรตีนและไขมันเข้าด้วยกัน เพราะไขมันเป็นเหมือนกำแพงที่สกัดกั้นไม่ให้น้ำย่อยออกมาย่อยอาหารได้ เมื่อน้ำย่อยลดลง การย่อยก็ช้าลงตามไปด้วย
ควรเลือกกลุ่มอาหารกินให้เข้ากันอย่างเหมาะสมในแต่ละมื้อ เพื่อช่วยให้ร่างกายย่อยได้ง่ายที่สุดอาหารที่กินด้วยกันได้ เช่น แป้ง ไขมัน ผัก น้ำตาล เพราะต้อนการสภาพความเป็นกลางหรือเป็นด่าง ในการย่อย ส่วนพวกโปรตีนควรกินกับผักและอาหารที่เป็นกรด เพราะต้องการลักษณะที่จะเป็นกรดกลางๆ ในการย่อย แต่สิ่งที่ไม่ควรกินด้วยกันคือ แป้งกับโปรตีน ไขมันกับโปรตีน แป้งกับของเปรี้ยว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ควรตระหนักคือ ในหนึ่งมื้อไม่ควรมีความหลายหลายของเมนูที่มากเกินไป เช่นทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ซึ่งจะทำให้ต้องรอการย่อยอยู่ในท้องนาน 6-7 ชั่วโมง ถ้าคาร์โบไฮเดรตที่เรากินเข้าไปไม่มีโปรตีน ไม่นานก็ย่อยหมดแล้ว ถ้าเป็นพวกผลไม้ยิ่งย่อยง่ายขึ้น
ควรกินอาหารที่แตกต่างกันในแต่ละมื้อ กินให้เป็นกลุ่มๆ เช่น มื้อหนึ่งเน้นผัก อีกมื้อหนึ่งเน้นแป้ง อีกมื้อหนึ่งเน้นโปรตีน และตบท้ายด้วยผลไม้สดจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานไม่หนักมากนักทั้งสบายท้องอีกด้วย
จัดอาหารให้พอเพียงกับปริมาณความต้องการของแต่ละคนและจำนวนคน ซึ่งนอกจากช่วยประหยัด ไม่กินเหลือทิ้งขว้างแล้ว ยังเป็นการควบคุมน้ำหนักไปในตัว เพราะการกินมากกว่าพลังงานที่ต้องใช้ในแต่ละวันจะถูกเก็บในรูปของไขมัน ทำให้มีน้ำหนักเกิน (อ้วน) ดังนั้นถ้าอยากให้มีสุขภาพดีและไม่อ้วนต้องมีสมดุลของพลังงานที่รับเข้าไปและพลังงานที่ใช้ให้พอดีกัน ผนวกกับจัดสรรอาหาแต่ละมื้อให้เข้าคู่กันเพื่อให้ย่อยง่ายดังที่กล่าวมา